เมนู

คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนา
เหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตาม
ได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อันให้รู้แจ้ง
อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


อันตานันติกทิฏฐิ 4


(35) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
ว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วย
วัตถุ 4.
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
วาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีสุด ด้วย
วัตถุ 4.
9.1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บาง
พวกในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมมีความสำคัญในโลก
ว่ามีที่สุด. เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ. ข้อนั้น
เพราะเหตุไร. เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น จึงมี

ความสำคัญในโลกว่ามีที่สุด. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการ
ที่โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 1
ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีวาทะว่า โลกมีที่สุด
และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
(36) 10.2 อนึ่ง ในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า
โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ
เนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโต-
สมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมมีความสำคัญในโลกว่าไม่มีที่สุด.
เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ สมณพราหมณ์พวก
ที่กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ นั้นเป็นเท็จ. โลกนี้ไม่มีที่สุดหา
ที่สุดรอบมิได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเผา
กิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่
ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิต
ตั้งมั่น จึงมีความสำคัญในโลก ว่าไม่มีที่สุด. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้
ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ไม่มีที่สุดหาที่สุดรอบมิได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ 2 ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มี
วาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
(37) 11.3 อนึ่ง ในฐานะที่ 3 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลก

มีที่สุดและไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการ
ประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้ว
สัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมมีความสำคัญในโลกว่า
ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางไม่มีที่สุด. เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้
ทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลม
โดยรอบ นั้นเป็นเท็จ. แม้สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด
หาที่สุดรอบมิได้ นั้นก็เป็นเท็จ. โลกนี้ ทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่
ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้
จิตตั้งมั่น จึงมีความสำคัญในโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวาง
ไม่มีที่สุด. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ทั้งมีที่
สุด ทั้งไม่มีที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 3 ที่สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด
บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
(38) 12.4 อนึ่งในฐานะที่ 4 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า
โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็น
นักตรึก เป็นนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ตรอง

ได้อย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ สมณพราหมณ์พวกที่
กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ แม้นั้นก็เป็นเท็จ. แม้สมณพราหมณ์
พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ แม้นั้นก็เป็นเท็จ. ถึง
สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่าโลกนี้ ทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด แม้นั้นก็เป็น
เท็จ. โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้
เป็นฐานะที่ 4 ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มี
วาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า โลกมีที่
สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ 4 นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
วาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ 4 นี้เท่านั้น หรือ
ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน 4 อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้ง
แห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อม
มีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น
ชัดและรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และ
เมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตนเอง รู้ความเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออก
ไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก

รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริง
โดยชอบ.


อมราวิกเขปิกทิฏฐิ 4


(39) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีความ
เห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้น
ได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ 4. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัย
อะไร จึงมีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ
ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ.
13.1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวก
ในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล. เขามี
ความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึง
พยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล คำพยากรณ์ของเรานั้นพึง
เป็นคำเท็จ คำเท็จของเรานั้นพึงเป็นความเดือนร้อนแก่เรา ความเดือนร้อน
นั้นพึงเป็นอันตรายแก่เรา. ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่พยากรณ์ว่า นี้เป็น
กุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวการกล่าวเท็จ เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ
เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็น
ของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่
มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 1 ที่สมณพราหมณ์